วันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ประเภทของคอมพิวเตอร์

ประเภทของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์สามารถจำแนกได้หลายประเภท ขึ้นอยู่กับความแตกต่างของขนาดเครื่องความเร็วในการประมวลผล และราคาเป็นข้อพิจารณาหลัก โดยทั่วไปนิยมจำแนกประเภท คอมพิวเตอร์ เป็น 6 ประเภทดังนี้คือ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) คอมพิวเตอร์เมนเฟรม (mainframe computer) มินิคอมพิวเตอร์ (minicomputer) เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer ) ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) และคอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

1.ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุด จึงราคาแพงมาก ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้มากกว่า พันล้านคำสั่งต่อวินาที ตัวอย่างการใช้งานคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น การพยากรณ์อากาศการทดสอบทางอวกาศ และงานอื่น ๆ ที่มีการคำนวณที่ซับซ้อน

2.คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (mainframe computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน ประมวลผลด้วยความเร็วสูง มีหน่วยความจำหลักขนาดใหญ่ ตลอดจนการจัดเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก คอมพิวเตอร์เมนเฟรม นิยมใช้กับองค์การขนาดใหญ่ที่มีการเข้าถึง ข้อมูลของผู้ใช้จำนวน มากในเวลาเดียวกันเช่น งานธนาคาร การจองตั๋วเครื่องบิน การลงทะเบียนและการตรวจสอบผลการเรียน ของนักศึกษา เป็นต้น

3.มินิคอมพิวเตอร์ หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานน้อยกว่า เมนเฟรมแต่สูงกว่าไมโครคอมพิวเตอร์ และสามารถรองรับการทำงาน จากผู้ใช้ได้หลายคนในการทำงาน ที่แตกต่างกัน จากจุดเริ่มต้นใน การพัฒนา ที่ต้องการให้ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ทำงานเฉพาะอย่าง เช่น การคำนวณทางด้านวิศวกรรม ทำให้การพัฒนามินิคอมพิวเตอร์ เจริญอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันธุรกิจและองค์การหลายประเภทนิยมนำ มินิคอมพิวเตอร์มา ใช้ในการให้บริการข้อมูลแก่ลูกค้า เช่น การจองห้องพักของโรงแรม การทำงานด้านบัญชีขององค์การธุรกิจ เป็นต้น

4.เซิร์ฟเวอร์คอมพิวเตอร์ (server computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่สนับสนุนการทำงานของคอมพิวเตอร์ เครือข่ายซึ่งใช้ในการจัดสรรและใช้ทรัพยากรร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมูล โปรแกรมประยุกต์ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ ( เช่น เครื่องพิมพ์แลอุปกรณ์อื่น ๆ )

5.ไมโครคอมพิวเตอร์ (microcomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีผู้นิยมใช้แพร่หลายมากที่สุด ส่งผลให้การพัฒนาเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์มีลักษณะและรูปแบบ ที่แตกต่างกัน เช่น คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ ( desktop computer ) คอมพิวเตอร์พกพา ( portable computer ) ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

6.คอมพิวเตอร์แบบฝัง (embedded computer ) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงาน เฉพาะด้าน พิจารณาจากภายนอกจะไม่เห็นว่าเป็นคอมพิวเตอร์แต่จะ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานบางอย่างของอุปกรณ์นั้นๆ คอมพิวเตอร์ประเภทนี้ เช่น เครื่องเล่นเกม ระบบเติมน้ำมันอัตโนมัติ โทรศัพท์มือถือ เป็นต้น

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

องค์ประกอบของคอมพิวเตอร์

ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 6 ส่วน คือ

1. ฮาร์ดแวร์ (hardware)
ข้อมูล หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วง เช่น แป้นพิมพ์ เมาส์ หน่วยประมวลผลกลาง จอภาพ เครื่องพิมพ์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ฮาร์ดแวร์จะทำงานตามโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่เขียนขึ้น

2. ซอฟต์แวร์ (software)
บางครั้งเรียกว่าโปรแกรม หรือ ชุดคำสั่งวัตถุประสงค์หลักของ ซอฟต์แวร์ ที่สั่งให้ฮาร์ดแวร์ทำงาน คือ การประมวลผลข้อมูลให้เป็น สารสนเทศ

3. ข้อมูลหรือข้อสนเทศ (date หรือ information)
ในการประมวลผลข้อมูล คอมพิวเตอร์จะประมวลผลตามข้อมูล หรือ ข้อสนเทศ ที่ป้อนเข้าสู่หน่วยรับข้อมูล ดังนั้นข้อมูลจึงเป็นส่วน สำคัญ อย่างหรึ่ง ในการประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศ เพื่อการตัดสินใจ ถ้าข้อมูลที่ป้อนเข้าไปมีความถูกต้อง ผลลัพธ์ที่ ได้จะมีความถูก ต้อง เชื่อถือได้

ข้อมูล (date)
หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ได้จากการรวบรวม ซึ่งอาจจะเป็นตัวเลข ข้อความรูปภาพ หรือเสียง เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์ทำการประมวล ให้ได้สารสนเทศ

สารสนเทศ (information)
หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลแล้ว ซึ่งในบางครั้งสารสนเทศอาจจะเป็นข้อมูลเพื่อการประมวลผล ให้ได้ข้อสนเทศอีกอย่างหนึ่งก็ได้ เช่น คะแนนสอบของนักศึกษา เป็นข้อมูล เมื่อผ่านกระบวนการตัดเกรด จะได้เกรดเป็นสารสนเทศ และเมื่อนำเกรดนักศึกษาไปคำนวณหาค่าเฉลี่ย เกรดของ นักศึกษาจะเป็นข้อมูล และสารสนเทศที่ได้คือเกรดเฉลี่ย (GPA)

4. ผู้ใช้ (user)
การทำงานของคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องให้ผู้ใช้สั่งงาน แต่ปัจจุบันมีคอมพิวเตอร์บางชนิดที่สามารถทำงานได้อัตโนมัติ อย่างไรก็ตามการใช้งานคอมพิวเตอร์โดยส่วนใหหญ่แล้วยังต้องการ ให้มนุษย์เป็นผู้สั่งงานเสมอ

5. กระบวนการทำงาน (procedure)
เป็นขั้นตอนการทำงานเพื่อให้ได้ผลลัพธ์หรือข้อสนเทศ จากคอมพิวเตอร์ ในการทำงานกับคอมพิวเตอร์ จำเป้นที่ผู้ใช้จะต้อง เข้าใจขั้นตอน การทำงานเพื่อให้ได้งานที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างขั้นตอนการทำงาน เช่น การถอนเงินด้วยเครื่องฝาก - ถอนเงินอัตโนมัติ (ATM) จะต้องมีขั้นตอนหรือกระบนการทำงานดังนี้ (วาสนา สุขกระสานติ , 2541)

- จอภาพแสดงความพร้อมเพื่อการทำงาน
- สอดบัตรและป้อนรหัสผู้ใช้
- เลือกรายการทำงาน
- ใส่จำนวนเงิน
- รับเงิน
- รับบัตรคืนและใบบันทึกรายการ

ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ ปกติจะมีขั้นตอนที่สลับ ซับซ้อนดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีคู่มือปฎิบัติงาน ที่ชัดเจน เช่น คู่มือผู้ใช้ (user manual ) คู่มือผู้ดูแลระบบ(operation manual) เป็นต้น

6. บุคลากรทางสารสนเทศ ( information systems personnel )
เป็นส่วนที่สำคัญของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดการ ให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำงาน ร่วมกับผู้ใช้ (user) อย่างใกล้ชิดเพื่อการพัฒนาระบบให้ตรงความ ต้องการของผู้ใช้

วันศุกร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2551

DOS

วันนี้ วันที่ 20 มิ.ย. 51
เราเริ่มเรียน DOS ซึ่งสาระที่ได้วันนี้ก้อมากอยู่เหมือนกัน
DOS ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบปฏิบัติการรุ่นแรกๆ ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีการทำงานบนระบบปฏิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วนใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง ที่นิยมใช้กัน คือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบปฏิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows
-ตัวอย่างคำสั่ง Dos
1.dir เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับแสดงรายชื่อไฟล์ที่มีอยู่ในดิสก์ ออกทางจอภาพ
2.copy ทำการคัดลอกไฟล์
3.ren ทำการเปลี่ยนชื่อไฟล์เป็นชื่อใหม่
4.ver ใช้สำหรับตัวสอบดูว่า dos ที่เราใช้อยู่เป็นรุ่นอะไร
5.type ใช้สำหรับดูข้อมูลที่อยู่ในไฟล์ประเภท txt file เป็นต้น

คำสั่งดอสยังมีอีกมากมายถ้าหากอยากเรียนรู้เพิ่มเติม ลองใช้คำสั่ง help ในดอสดูนะ อาจจะได้คำสั่งอีกมากมายที่เกี่ยวกับการทำงานของดอส

วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2551

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer virus)

ไวรัสคอมพิวเตอร์ (Computer virus) หรือเรียกสั้นๆ ในวงการว่า ไวรัส คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ส่วนมากมักจะมีประสงค์ร้ายและสร้างความเสียหายให้กับระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆในเชิงเทคโนโลยีความมั่นคงของระบบคอมพิวเตอร์นั้น ไวรัสเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำสำเนาของตัวเอง เพื่อแพร่ออกไปโดยการสอดแทรกตัวสำเนาไปในรหัสคอมพิวเตอร์ส่วนที่สามารถปฏิบัติการได้หรือข้อมูลเอกสาร ดังนั้นไวรัสคอมพิวเตอร์จึงมีพฤติกรรมในลักษณะเดียวกับไวรัสในทางชีววิทยา ซึ่งสามารถแพร่กระจายไปในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกันนี้ คำอื่น ๆ ที่ใช้กับไวรัสในทางชีววิทยายังขยายขอบข่ายของความหมายครอบคลุมถึงไวรัสในทางคอมพิวเตอร์ เช่น การติดไวรัส (infection) แฟ้มข้อมูลที่ติดไวรัสนี้จะเรียกว่า โฮสต์ (host) ไวรัสนั้นเป็นประเภทหนึ่งของโปรแกรมประเภทมัลแวร์ (malware) หรือโปรแกรมที่มีประสงค์ร้าย ในความหมายที่ใช้กันทั่วไปนั้น ไวรัสยังใช้หมายรวมถึง เวิร์ม (worm) ซึ่งก็เป็นโปรแกรมอีกรูปแบบหนึ่งของมัลแวร์ ซึ่งบางครั้งก็ทำให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์นั้นสับสนเมื่อคำไวรัสนั้นใช้ในความหมายที่เฉพาะเจาะจง คอมพิวเตอร์ไวรัสนั้นโดยทั่วไปจะไม่ส่งผลก่อให้เกิดความเสียหายต่อฮาร์ดแวร์โดยตรง แต่จะทำความเสียหายต่อซอฟต์แวร์ในขณะที่ไวรัสโดยทั่วไปนั้นก่อให้เกิดความเสียหาย (เช่น ทำลายข้อมูล) แต่ก็มีหลายชนิดที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย เพียงแต่ก่อให้เกิดความรำคาญเท่านั้น ไวรัสบางชนิดนั้นจะมีการตั้งเวลาให้ทำงานเฉพาะตามเงื่อนไข เช่น เมื่อถึงวันที่ที่กำหนด หรือเมื่อทำการขยายตัวได้ถึงระดับหนึ่ง ซึ่งไวรัสเหล่านี้จะเรียกว่า บอมบ์ (bomb) หรือระเบิด ระเบิดเวลาจะทำงานเมื่อถึงวันที่ที่กำหนด ส่วนระเบิดเงื่อนไขนั้นจะทำงานเมื่อผู้ใช้คอมพิวเตอร์มีการกระทำเฉพาะซึ่งเป็นตัวจุดชนวน ไม่ว่าจะเป็นไวรัสชนิดที่ก่อให้เกิดความเสียหายหรือไม่ก็ตาม ก็จะมีผลเสียที่เกิดจากการแพร่ขยายตัวของไวรัสอย่างไร้การควบคุม ซึ่งจะเป็นการบริโภคทรัพยากรคอมพิวเตอร์อย่างไร้ประโยชน์ หรืออาจจะบริโภคไปเป็นจำนวนมาก