วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

เตรียมความพร้อมก่อนใช้ Linux

ก่อนที่จะทำการติดตั้งก็ต้องเตรียมความพร้อมทางด้านอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ให้เป็นที่เรียบร้อยก่อน ระบบลีนุกซ์ต้องการฮาร์ดแวร์ที่มีคุณสมบัต ิขั้นต่ำสุดดังต่อไปนี้
1. หน่วยประมวลผลกลางของ Intel 80386 ขึ้นไป
2. หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ มีหรือไม่มีก็ได้ เพราะระบบปฏิบัติการ Red Hat Linux ได้มีการจำลอง หน่วยประมวลผลทางคณิตศาสตร์ไว้ในระดับของเคอร์เนล (Kernel) แล้ว
3. หน่วยความจำอย่างน้อย 8 เมกะไบต์ แต่แนะนำให้มีอย่างน้อย 16 เมกะไบต์จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า
4. ฮาร์ดดิสก์อย่างน้อย 101 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบพื้นฐาน 266 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั่วไป และ 716 เมกะไบต์ สำหรับการติดตั้งแบบทั้งหมดตัวเลขที่ระบุทั้งหมดเฉพาะส่วนระบบปฏิบัติการ ถ้าต้องการใช้เป็น File Server หรือ Database Server จะ ต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับใช้งานด้วย ส่วนแหล่งของโปรแกรมลีนุกซ์นั้นสามารถหาได้ฟรีตามเว็บไซท์ เช่น
www.linux.org/dist/ftp.html
สิ่งที่ควรทราบก่อนการติดตั้ง
1. คุณสมบัติของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
§ จำนวนของฮาร์ดดิสก็ที่ต้องการติดตั้ง
§ ขนาดความจุของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง
§ ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์ที่จะใช้ในการติดตั้ง IDE, EIDE หรือ SCSI
§ มีการใช้ประเภทการเชื่อมต่อของฮาร์ดดิสก์หลายๆ ประเภทในเครื่องเดียวกันหรือไม่
2. ขนาดของหน่วยความจำหลัก เพื่อที่จะคำนวณหาขนาดของ Linux Swap Partition
3. ประเภทการเชื่อมต่อของเครื่องอ่านซีดีรอม IDE (ATAPI), SCSI
4. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อ SCSI
5. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อเครือข่าย
6. จำนวนปุ่มกด และประเภทเชื่อมต่อของเมาส์
7. รุ่นและยี่ห้อของแผงวงจรเชื่อมต่อจอภาพ รุ่นและยี่ห้อของจอภาพ
8. รายละเอียดการกำหนดโปรโตคอล TCP/IP ของเครื่องที่ต้องการติดตั้ง
§ IP Address
§ Net Mask
§ GateWay Address
§ Name Server Address
§ Domain Name
§ Host Name

อนาคตของ Linux

ลีนุกซ์นั้นมีนักพัฒนาโปรแกรมจากทั่วโลกช่วยกันทำให้การขยายตัวของลีนุกซ์เป็นไปอย่างรวดเร็วโดยในส่วนของแกนระบบปฏิบัติการ หรือเคอร์เนลนั้นจะมีการพัฒนาเป็นรุ่นที่ 2.2 (Linux Kernel 2.2) ซึ่งได้เพิ่มขีดความสามารถและสนับสนุนการทำงานแบบหลายตัวประมวลผลแบบ SMP (Symmetrical Multi Processors) ซึ่งทำให้ระบบลีนุกซ์สามารุนำไปใช้สำหรับทำงานเป็นเซิร์ฟเวอร์ขนาดใหญ่ได้ และยังมีโครงการสนับสนุนการใช้งานบรระบบลีนุกซ์อีกหลายโครงการ เช่น KDE (The K Desktop Environment) และ GNOME (GNU Network Object Model Environment) ซึ่งจะช่วยพัฒนา desktop บนลีนุกซ์ให้สมบูรณ์เทียบเท่ากับ Windows 98 ของไมโครซอฟท์ และบรรดาบริษัทผู้ผลิตซอฟท์แวร์ทางด้านระบบฐานข้อมูลชั้นนำ อย่างเช่น Informix, Oracle, IBM DB2 ก็เริ่มให้มีสนับสนุนการใช้งานบนระบบลีนุกซ์ แล้วเช่นเดียวกัน

การนำ Linux มาใช้งาน

ปัจจุบันได้มีการนำระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ไปประยุกต์เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับงานด้านต่างๆเช่นงานด้านการคำนวณทางวิทยาศาสตร์ใช้เป็นสถานีงาน สถานีบริการ อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือใช้ใน การเรียนการสอนและการทำงิจัยทางคอมพิวเตอร์ใช้พัฒนาโปรแกรมเนื่องจาก มีเครื่องมือมากมาย เช่น โปรแกรมภาษาซี (C) ซีพลัสพลัส (C++) ปาสคาล (Pascal) ฟอร์แทรน (Fortran) ลิสป์ (Lisp) โปรล็อก (Prolog) เอดา (ADA) มีภาษาสคริปต์ เช่น เชลล์ (Shell) บาสช์เชลล์ (Bash Shell) ซีเชลล์ (C Shell) คอร์นเชลล์ (Korn Shell) เพิร์ล (Perl) พายตัน (python) TCL/TK
นอกจากนี้ยังมีโปรแกรมประยุกต์ในสาขาต่างๆ อีกมากมาย โดยข้อมูลของโปรแกรมเหล่านี้ได้รวบรวมไว้ที่
Linux Software Map (LSM)

มารู้จักคำสั่งพื้นฐานของ Linux กันเถอะ..1



ลีนุกซ์ เป็นระบบปฏิบัติการเช่นเดียวกับ ดอส ไมโครซอฟต์วินโดวส์ หรือยูนิกซ์ โดยลีนุกซ์นั้นจัดว่าเป็นระบบปฏิบัติการยูนิกซ์ประเภทหนึ่ง การที่ลีนุกซ์เป็นที่กล่าวขานกันมากขณะนี้ เนื่องจากความสามารถของตัวระบบปฏิบัติการและโปรแกรมประยุกต์ที่ทำงานบนระบบลีนุกซ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโปรแกรมในตระกูลของ GNU (GNU's Not UNIX) และสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือระบบลีนุกซ์เป็นระบบปฏิบัติการประเภทฟรีแวร์ (Free Ware) คือไม่เสียค่าใช้จ่ายในการซื้อโปรแกรม
ระบบลีนุกซ์ตั้งแต่เวอร์ชั่น 4 นั้น สามารถทำงานได้บนซีพียูทั้ง 3 ตระกูล คือบนซีพียูของอิลเทล (PC Intel) ดิจิตอลอัลฟาคอมพิวเตอร์ (Digital Alpha Computer) และซันสปาร์ค (SUN SPARC) เนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า RPM (Red Hat Package Management) ถึงแม้ว่าในขณะนี้ลีนุกซ์ยังไม่สามารถแทนที่ไมโครซอฟต์ วินโดวส์ บนพีซีหรือแมคโอเอส (Mac OS) ได้ทั้งหมดก็ตาม แต่ผู้ใช้จำนวนไม่น้อยที่หันมาใช้และช่วยพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนลีนุกซ์กัน และเรื่องของการดูแลระบบลีนุกซ์นั้น ภายในระบบลีนุกซ์เองมีเครื่องมือช่วยสำหรับดำเนินการให้สะดวกยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2551

Trick ดูข้อความที่อยู่คนละหน้าได้พร้อมกัน

ดูข้อความที่อยู่คนละหน้าได้พร้อมกัน
เมื่อเอกสารมีขนาดใหญ่จนไม่สามารถแสดงได้หมดในหนึ่งหน้าจอ คุณอาจแบ่งหน้าจอออกเป็น 2 ส่วนเพื่อดูข้อความที่อยู่ตอนต้นของเอกสารในหน้าจอส่วนหนึ่ง กับดูข้อความที่อยู่ท้ายเอกสารในหน้าจออีกส่วนหนึ่ง แล้วเปรียบเี่ทียบกัน

1.คลิกเลือกเมนู Window/Slip (หน้าต่าง/แยก) หลังจากนั้น


2.คลิกลาก Split Bar ไปตำแหน่งที่ต้องการแล้วคลิกหลังจากนั้นเอกสารก็จะถูกแบ่งออกเป็น 2 หน้าโดยแต่ละส่วนจะมีไม้บรรทัด และดสโครลบาร์หรือรางเลื่อนเป็นของตนเองเมื่อเลื่อนดูข้อความในส่วนใดอีกส่วนก็จะไม่เลื่อนตาม แต่ถ้ามีการแก้ไขส่วนใดอีกส่วนก็จะถูกแก้ไขไปด้วยเนื่องจากทั้งสองส่วนยังเป็นไฟล์เดียวกัน

การตกแต่งข้อความด้วยลักษณะพิเศษ (Effects)

นอกจากคุณจะทำการสร้างเอกสารทั่วไปแล้วคุณยังสามารถสร้างเอกสารให้ดูหน้าสนใจด้วยการปรับแต่งรูปแบบตัวอักษรให้สวยงามหรือแปลกใหม่ให้เป็นแบบที่คุณต้องการซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
1.ทำการดาร์กเมาส์เลือกข้อความที่คุณต้องการเปลี่ยนแปลง




2.เลือกคำสั่งรูปแบบ/แบบอักษร (Format/Font)





3.คลิกเลือกรูปแบบในลักษณะพิเศษได้ตามที่คุณต้องการเราสามารถเลือกได้มากกว่า 1 แบบแต่บางแบบก็ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ใ้ห้ดูที่แสดงตัวอย่าง




4.นอกจากนั้นคุณยังสามารถกำหนดแบบอักษร ขนาด และำกำหนดเป็นค่าเริ่มต้นของเอกสารได้ด้วย เมื่อทำการแก้ไขตามที่คุณต้องการแล้ว ให้ทำการคลิกเลือก ตกลง(OK) เท่านี้คุณก็จะได้รูปแบบของอักษรตามที่คุณต้องการ

ประโยชน์ของ Blog

Blog เป็นเครื่องมือสำหรับเขียนบันทึกเหตุการณ์ส่วนตัว ชื่อเต็มๆ มาจาก Weblog โดยคนที่เขียน blog เขาจะเรียกว่า blogger หรือ Weblogger ที่จริงแล้วจะเรียกชื่ออะไรคงไม่ได้เกี่ยวข้องกับตัวเรามากนักเอาเป็นว่าให้พอรู้จักชื่อละกัน หากท้าวความย้อนกลับไปในอดีต คนที่จะทำเว็บไซต์ส่วนตัวจะต้องศึกษาเครื่องมือเขียนเว็บอย่าง HTML หรือหากจะให้ง่ายหน่อยก็ใช้ทูลสำเร็จรูปอย่าง Dreamweaver, Frontpage ในการสร้างเว็บขึ้นมา หลังจากสร้างเสร็จจะต้องไปขอพื้นที่เว็บฟรีเพื่ออัปโหลดข้อมูลในเครื่องเราขึ้นไปเก็บอีกทีหนึ่ง จึงจะมีเว็บของตัวเองได้

สำหรับ blog ไม่เป็นเช่นนั้นผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องนั่งเขียนโค้ด หรือนั่งสร้างเว็บเอง อีกทั้งไม่จำเป็นต้องไปขอพื้นที่เว็บฟรี ก็สามารถมีเว็บไว้บันทึกเหตุการณ์ส่วนตัวได้แล้ว อีกทั้งสามารถเปลี่ยนรูปพื้นหลัง (template) ได้ด้วย ปัจจุบัน blog กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ บริษัททั้งเล็ก ใหญ่ต่างก็ทำเว็บบล็อกบริการในบริษัท เพื่อให้พนักงานเขียนบล็อกส่วนตัวได้ * โดยในเนื้อหาใน Blog นั้นจะส่วนประกอบสามส่วนคือ 1.หัวข้อ (Title) 2. เนื้อหา (Post หรือ Content) 3.วันที่เขียน (Date)
ประโยชน์หลักของ blog
• เป็นศูนย์ความรู้ของบริษัท เพราะให้พนักงานแต่ละคนเขียนบล็อกส่วนตัวไว้ หากพนักงานท่านนั้นลาออกไป ความรู้ยังคงอยู่ที่บริษัทให้รุ่นน้องศึกษา

• ใช้รายงานเหตุการณ์ หรือผลการทำงานว่าแต่ละวันได้ทำอะไรบ้าง

• ใช้ติดตามความคืบหน้าของงาน กรณีมีการทำงานร่วมกัน

• ใช้สำหรับโชวร์ ผลงานส่วนตัว หรือไซต์ส่วนตัว

• ใช้ทำเว็บไซต์ส่วนตัว / เว็บดาราดัง (เราอาจจะเป็นแฟนพันธุ์แท้ ใครสักคนก็สามารถทำได้สบาย )• ใช้ทำเว็บรวมสถานที่ท่องเทียวในตัวจังหวัด หรือในอำเภอเล็กๆ ตามต่างจังหวัด

• ...